Corporate Social Responsibility CSR
หมายถึง
ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร
ซึ่งคือการดำเนินกิจการภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี
โดยรับผิดชอบสังคมและสิ่งเเวดล้อมทั้งในระดับไกลและใกล้
อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน"
ในยุคของการแข่งขันที่นักการตลากต้องเข้าไปให้ถึงจิตวิญญาณของผู้บริโภค
การทำกิจกรรมที่สอดคล้องและยึดกรอบแนวคิดของการทำ CSR น่าจะกลายเป็นเทรนด์
ที่นักการตลาดและนักโฆษณา ต่างก็คิดและพํฒนา
เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้าและใช้ยืนร่วมกันในจุดที่ปลอดภัยและ Branding
ถูกมองว่า "เป็นคนดี" อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมที่สามารถคิดค้นเพียง1
ครั้ง
แต่ใช้สื่อสารกับลูกค้าได้ตลอดไป
หากมีใครตั้งคำถามว่า หากเราต้องการภาพลักษณ์ที่ดีแบบยั่งยืนที่มาพร้อมผลกำไร
ฟังดูอาจโลภเกินไป แต่หลักการ การทำ CSR ที่ถูกต้องนั่นสามารถทำได้
โดยคุณต้องวางแผนให้ขบวนการทั้งหมดสะท้อนกลับไปหา BRAND และคุณต้องเข้าใจในหลักการและแนวคิดโดยแท้จริงและค้นหากลยุทธ์ที่สอดคล้องไปกับคำมั่นสัญญาที่
Brand ได้เคยให้ไว้กับลูกค้า
ความสำคัญของการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ
หากพิจารณาแยกเป็นรายคำศัพท์ คำว่า Corporate
มุ่งหมายถึงกิจการที่ดำเนินไปเพื่อ
แสวงหาผลกำไร ส่วนคำว่า Social ในที่นี้
มุ่งหมายถึงกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์ กัน หรือมีวิธีร่วมกัน
ทั้งโดยธรรมชาติหรือโดยเจตนารวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นและสิ่งแวดล้อม
ที่อยู่ร่ายร้อมประกอบ
และคำว่า
Responsibility มุ่งหมายถึงการยอมรับทั้งผลที่ไม่ดีและผลที่ดีในกิจการที่ได้ทำลงไปหรือ
ที่อยู่ในความดูแลของกิจการนั้น ๆ
ตลอดจนการรับภาระหรือเป็นธุระดำเนินการป้องกัน
และปรับปรุงแก้ไขผลที่ไม่ดีรวมถึงการสร้างสรรค์และบำรุงรักษาผลที่ดีซึ่งส่งกระทบไปยังผู้มีส่วน
ประเภทของ CSR
In process หมายถึง
กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสิ่งแวดล้อม
ขององค์กร เช่น การดูแลสวัสดิการพนักงาน,
การผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม, ความรับผิดชอบต่อลูกค้า
After process หมายถึง
กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมที่ไม่เกี่ยว
กับการดำเนินงานขององค์กรโดยตรง เช่น
การปลูกป่า, การบริจาคทุนการศึกษา,การรณรงค์สร้างจิตสำนึก,
การช่วยเหลือผู้ประสบภัย
As Process หมายถึง
องค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยไม่มุ่งหวังผลกำไร
เช่น
มูลนิธิ หรือ สมาคมการกุศลต่างๆ
หลักการและแนวคิดของ CSR
1. การกำกับดูเเลกิจการที่ดี
2. การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม
3. การเคารพสิทธิและการปฎิบัติต่อเเรงงานอย่างเป็นธรรม
4. ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
5. การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม
6. การดูเเลรักษาสิ่งเเวดล้อม
7. การเผยเเพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม
8. การจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งเเวดล้อม
คอตเลอร์และลีได้กำหนดรูปแบบของการดำ
เนินกิจกรรม CSR เรียกว่า CSI: corporate
Social Initiatives โดยให้ความหมายไว้ว่า CSI เป็นกิจกรรมหลักที่ดำเนินโดยบริษัท
เพื่อสนับสนุนประเด็นทางสังคม
โดย สามารถ แบ่งแยกไว้ 6 ประเภท ดังนี้
1.การสนับสนุนโครงการที่ทำให้บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
(Corporate
Social Marketing: CSM)
2. การเป็นผู้สนับสนุนในการโปรโมทกิจกรรมเพื่อสังคมหรือตัวองค์กร
(Cause
Promotion/ Cause Marketing)
3.การบริจาคเงินจากส่วนแบ่งการขายสินค้าหรือบริการภายในช่วงเวลาที่กำหนดให้กับองค์กรทาง
สังคม (Cause Related Marketing)
4.การบริจาคเงินให้กับมูลนิธิหรือองค์กรสาธารณกุศล
(Corporate Philanthropy)
5.การสนับสนุนให้
พนักงานของบริษัท เป็นอาสาสาสมัครเพื่อร่วมกิจกรรมทางสังคมกับ
ชุมชน (Community Volunteering)
6. การลงทุนหรือการเปลี่ยนแปลงการดําเนินงานของบริษัท(Socially
Responsible Business Practices)
เช่น การใช้วัสดุรีไซเคิลหรือลดการใช้ บรรจุภัณฑ์ เพื่อแสดงออกถึงการทาธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
และไม่ว่าคุณจะเลือกรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ว่า
จะผ่านประเด็นใดก็ตามที่กล่าวไว้สิ่งที่คุณต้องคำนึงถึงและให้ความสัมพันธ์คือ
Stake Holders ทั้ง 3 ระยะ
อันประกอบด้วย องค์กร สังคมใกล้ และสังคมไกล การคิดริเริ่ม การวางกิจกรรม
การสื่อสาร ที่ต้องกระทบและต้องมีความสัมพันธ์กัน และที่สำคัญที่สุดคือ ธุรกิจ และตราสินค้า
ต้องมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน สามารถ กระทบหากันได้ทันที เมื่อผู้บริโภค
รับรู้ถึงกิจกรรมนั้น และสามารถ ตระหนักรู้ได้ว่า กิจกรรมดังกล่าว
เป็นความรับผิดชอบโดยตรงของ Brand นั้น
และในปัจจุบัน
นักวิชาการและนักการตลาดที่มีชื่อชื่อเสียงต่างก็ออกมาให้กรอบแนวคิดที่พํฒนาจากคำว่า
CSR ให้กล่าวเข้าสู่ CSV : Creating Shared
Value ที่เน้น มูลค่าที่ใช้ร่วมกัน
ไม่ได้เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมหรือความใจบุฐศุลทานหรือแม้แต่การพัฒนาแบบ ยั่งยืน แต่เป็น
วิธีการใหม่เพื่อให้บรรลุความสำเร็จทางเศรษฐกิจ หลักการของ creating shared
value (CSV) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและยังสร้างมูลค่าให้กับสังคมโดยการเข้าถึงความต้องการของสังคม
การสร้างมูลค่าให้กับสังคม ยังสามารถกำหนดเป็นนโยบายและการปฏิบัติดำเนินงาน
ที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของบริษัท
ในขณะเดียวกันก็สร้างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชนได้ด้วย creating
shared value (CSV) มุ่งเน้นไปที่การสนใจและการขยายการเชื่อมต่อระหว่างสังคมและเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า ผู้เขียนกล่าวว่าการสร้างมูลค่าที่ใช้ร่วมกัน (CSV)
ควรจะใช้แทนความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) เป็นตัวชี้นำบริษัท
ทั้งหลาย ที่จะ ทำการลงทุนในชุมชนนั้นๆโปรแกรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ให้ความสนใจในชื่อเสียงองค์กร
และมีข้อจำกัดในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับธุรกิจ
ซึ่งยากที่จะปรับและรักษาความสัมพันธ์ในระยะยาว ระหว่างกันในทางตรงกันข้าม CSV ป็นส่วนสำคัญในการทำกำไรและสร้างตำแหน่งทางการแข่งขันของ
บริษัท พอร์เตอร์เป็นคนบัญญัติศัพท์คำว่า "ความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์
"และกำหนดว่ามันเป็นมากกว่าแค่การเป็นพลเมืองที่ดี (ไมเคิล อี พอร์เตอร์)
ไม่ว่าคุณจะเลือกและสื่อสารอย่างไรกับลูกค้าของคุณ ก็จงอย่าลืม กฎเหล็ก ที่ว่า Branding
เกิดจาก ผู้บริโภคที่สะสมประสบการณ์ ที่คุณส่งมอบให้ นะคะ