โดยสรุปผู้วิจัยสามารถสรุป ความหมายและความเป็นมา ของทฤษฎีระบบ
ได้ดังนี้
ประวัติ
ทฤษฎีกระบวนระบบ (System Theory) เริ่มปรากฎขึ้นเมื่อประมาณ
ค.ศ. 1920 โดยผู้ที่เริ่มพูดถึงแนวคิดนี้เป็นคนแรก คือ Bertalanfy และ Bronding นักชีววิทยา
ชาวออสเตรีย ต่อมาแนวคิดนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายเมื่อทศวรรษ 1940 และ
พัฒนาไปสู่สาขาอื่น ๆ เช่น ฟิสิกส์ Cybernetic (เช่นงานของ
Frederic Vester) โดยในช่วงหลังแนวคิดนี้ได้พัฒนาไปเป็น Complexity
Theory และบางส่วนก็พัฒนำปเป็นทฤษฎีไร้ระเบียบหรือ Chaos
Theory นั่นเอง
ทฤษฎีนี้ได้เข้ามามีบทบาทในการศึกษาทางสายสังคมศาสตร์ด้วยเช่นกัน
อาทิ Claud Levin และทฤษฎีที่ได้รับอิทธิพลโดยตรงจาก System
Theory ก็คือแนวพวก Radical Constructivism ที่เชื่อว่าโลกหรือการรับรู้ของเรานั้น
เกิดจากสิ่งที่สมองของเราสร้างขึ้นทั้งสิ้นด้วยเหตุนี้ System Theory จึงมีลักษณะเป็นสหวิชาการ
(Interdisciplinary) เนื่องจากสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลาย ๆ
สาขาวิชา โดยจุดสำคัญ ของ System Theory อยู่ที่การมองแบบไม่แยกส่วนหรือการมองว่าทุกอย่างสัมพันธ์กัน
หรือส่วนย่อยสัมพันธ์ กันส่วนใหญ่
ทฤษฎี (Theory) มีรากศัพท์มาจาก
Theory (ละคร) เป็นการสะท้อนภาพของมนุษย์
เป็นภาพจำลองของชีวิต ภาพสะท้อนของสังคม มนุษย์มักจะคิดว่า
ทฤษฎีเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว สามารถปฏิบัติตามได้ แต่ในความเป็นจริง ทฤษฎี คือ
กรอบความคิดที่สร้างขึ้นมาเพื่อเข้าใจความจริงบางอย่าง รู้บางส่วน รู้โดยประมาณ
ซึ่งกรอบความคิดนี้ จะช่วยทำให้เข้าใจความเป็นจริงมากขึ้น
ระบบ (System)หมายถึง การนำปัจจัยต่างๆ อันได้แก่ คน (People) ทรัพยากร
(Resource) แนวคิด (Concept) และกระบวนการ
(Process) มาผสมผสานการทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ได้วางแผนไว้
โดยภายในระบบอาจประกอบไปด้วยระบบย่อย (Subsystem) ต่างๆ
ที่ต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน
ความหมาย
ทฤษฎี ระบบ หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ที่มีเหตุมีผลต่อกัน
เกิดจากสิ่ง องค์ประกอบต่างๆที่มีความหมายต่อกัน มีความสัมพันธ์กัน และขึ้นต่อกัน
โดยองค์ประกอบต่างๆ ร่วมกันทำงานเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย
ประเภทของระบบ
โดยทั่วไประบบ จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท
ระบบปิด (Closed System) คือ
ระบบที่มีความสมบูรณ์ภายในตัวเอง สามารถควบคุมจากปัจจัยรบกวนต่างๆ สามารถcontrol ได้ไม่ผันแปรตามปัจจัยอื่น
ระบบเปิด (Open System) คือ
ระบบที่ สามารถผันแปร ตามปัจจัย ต่างๆเราไม่อาจจะควบคุมได้
และระบบเปิดนี้ยังสามารถแลกประโยชน์กับระบบเปิดด้วยกัน เพื่อ
เกิดความสมดุลใหม่ๆอีกด้วย
องค์ประกอบของระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตาม
จะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
1. Input สิ่งที่ป้อนเข้าไป
หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการ อาทิ เช่น ข้อมูล
2. Process กระบวนการหรือการดำเนินงาน หมายถึง
การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไป มาจัดกระทำให้เกิดผล
บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
3. Output ผลผลิต
หรือการประเมินผล หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขบวนการดำเนินการ
ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ
1.
ปัญหา (Identify Problem)
2.จุดมุ่งหมาย (Objectives)
3. ศึกษาข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraints)
4. ทางเลือก (Alternatives)
5. การพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม (Selection)
6. การทดลองปฏิบัติ (Implementation)
7. การประเมินผล (Evaluation)
8. การปรับปรุงแก้ไข (Modification)
การประยุกต์ใช้ ทฤษฎีระบบ
หากกล่าวโดยสรุปแล้ว System Theory จึงเป็นการมองความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง
ๆ แบบองค์รวม โดยเชื่อว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นส่วนหนึ่ง ของระบบที่ใหญ่ขึ้นไป
ขณะเดียวกันตัวมันเองก็เป็นระบบที่สามารถแยกย่อยลงไปเป็นระบบเล็ก ๆ
มากมายหลายระดับได้ ด้วยเหตุนี้ System
Theory จึงมีความหมายต่อระบบการจัดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและองค์ความรู้
มาก เมื่อนำ System Theory มาประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง ผ่านแนวคิดทฤษฎีระบบ เราต้องวิเคราะห์ และนิยามปัญหานั้นก่อนว่าประกอบด้วยปัจจัย อะไรบ้าง และ นำข้อมูล เหล่านั้น มาวางแผน ในขบวนการจัดการ เพื่อที่จะส่งผลต่อผลลัพท์ที่เกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
การคิดแบบเป็นระบบ ทุกอย่างบนโลกใบนี้ มีเหตุมีผล มีที่มาและที่ไป บางอย่างมีความสัมพันธ์กัน แต่ความสัมพันธ์นั้น จะเกิดเป็นผลอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับขบวนการ ที่เราวางแผนไว้ และผลที่เกิดขึ้น อาจถูกปัจจัยทางสภาวะแวดล้อม ทำให้ เกิดความเปลี่ยนแปลงและอาจได้สมดุลย์ใหม่ๆเกิดขึ้นอีกด้วย
สืบค้นวันที่ 26 ตุลาคม 2557