วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Marketing Models Chapter 3 Organization Buyer Behavior


Organization Buyer Behavior โดย นิวรรณ เตือนใจยา นักศึกษาปริญญาเอก DBA 6 Sripatum University เสนอ ผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น

โดยสรุปผู้วิจัยสามารถสรุป ความหมายและความเป็นมา องค์ประกอบ ตัวชี้วัดและการประยุกต์ใช้ แนวคิด พฤติกรรมการซื้อระดับองค์กร ได้ดังนี้

การจัดซื้อสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาเพื่อ ผลิตหรือส่งต่อบริการ แท้จริงแล้ว เราสามารถวางแผนกลยุทธ์ ได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ หากเราได้ศึกษา ทฤษฎี พฤติกรรมการซื้อระดับองค์กร หากเราเข้าใจในตัวธุรกิจ นโยบายขององค์กร ที่แท้จริงถึงการส่งมอบสินค้าหรือบริการตามที่องค์กรได้ให้คำมั่นสัญญาไว้กับลูกค้า และเข้าใจในระบบการวางแผนการใช้เงินอย่างคุ้มค่าและในเวลาที่ถูกต้องและสามารถควบคุมและดำเนินการให้เป็นไปตามระบบและเข้าใจในองค์ประกอบและปัจจัย จนนำไปสู่ การมีต้นทุนที่ต่ำลงแต่มีคุณภาพของสิ่งที่จัดซื้อและเหมาะสม และผลที่ได้รับคือ ยังคงสามารถส่งต่อ สินค้าและบริการไปยัง คู่ค้า หรือลูกค้าและนำไปสู่ความพึงพอใจและยอดขายแบบ เต็มประสิทธิภาพ การวางแผนโดย ยึดแนวคิดพฤติกรรมการซื้อระดับองค์กร Organization Buyer Behavior ก็จะใช้เป็นกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจให้ไม่เข้าไปสู่ความผิดพลาดได้อย่างแม่นยำและจะส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับแนวคิดการดำเนินการด้านกลยุทธ์อีกด้วย

ประวัติความเป็นมา

Shethได้นำเสนอ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อขององค์การไว้ในปี1973 ว่ามีองค์ประกอบและเรื่องที่ต้องศึกษาเพื่อเข้าใจในพฤติกรรมการซื้อ  4 ส่วน ดังนี้ 

1)            ความคาดหวังของสมาชิกในดีเอ็มยู
2)            ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อขั้นตอนการซื้อ
3)            คุณลักษณะของขั้นตอนการตัดสินใจซื้อ
4)            ปัจจัยของสถานการณ์



   จากโมเดลดังกล่าวจึงอธิบายได้ว่ารูปแบบShethเป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบโฮเวิร์ด-Sheth พฤติกรรมของผู้ซื้อไปปรับใช้กับกระบวนการพฤติกรรมพิเศษของผู้ซื้อในอุตสาหกรรมรูปแบบShethมีความสำคัญ
ทางด้านจิตใจและพฤติกรรมมุ่งเน้นไปที่รัฐจิตและกระบวนการตัดสินใจของผู้เข้าร่วมในแต่ละขั้นตอนการซื้อในแนวความคิดที่สำคัญในโมเดลนี้สรุปได้ชัดเจนในรูปเป็นความคาดหวังของผู้ซื้อรับรู้ทิศทางบทบาทวิถีชีวิตและความเสี่ยงที่รับรู้ตัวแปรขององค์กรได้สรุปไว้ในสามสร้างปฐมนิเทศขนาดและระดับของการรวมศูนย์อำนาจรูปแบบShethแสดงให้เห็นว่าความแตกต่างระหว่างความคาดหวังของผู้ซื้อที่เกิดจาก พื้นหลังของบุคคล แหล่งที่มาของข้อมูลของพวกเขาการค้นหาที่ใช้งาน บิดเบือนการรับรู้ ความพึงพอใจกับการซื้อที่ผ่านมา

มีงานวิจัยอีกเป็นจำนวนมากอย่างมีนัยสำคัญของการวิจัยดำเนินการในการจำลองModelที่จะเกิดประโยชน์ต่อ การศึกษาพฤติกรรมการจัดซื้อองค์กร และ พยายมหาคำอธิบายและศึกษา กรอบ และปัจจัยต่อจากSheth Model และต่อมาShethได้ค้นพบในงานวิจัยในปัจจุบัน(1996)ซึ่งเขาแบ่งออกเป็นประเภทของการตัดสินใจทำให้กระบวนการค้นหาข้อมูลการซื้อกรอบระดับและรูปแบบผู้ซื้อผู้ขายที่มีปฏิสัมพันธ์อธิบายสั้นๆของการวิจัยที่สำคัญในการขยายรูปแบบในโดเมนของกระบวนการตัดสินใจค้นหาข้อมูล, ซื้อกรอบระดับและรูปแบบการทำงานร่วมกันผู้ซื้อผู้ขาย (Sheth1996)

ความหมาย พฤติกรรมการซื้อตลาดองค์กร

ความหมายการจัดซื้อ

การบริหารจัดการแหล่งทรัพยากรภายนอกขององค์กร ซึ่งได้แก่ สินค้า งานบริการ ความสามารถ (Capabilities) และความรู้(Knowledge)ที่มีส่วนสำคัญในการดำเนินงาน ธำรงรักษาไว้ และบริหารจัดการกิจกรรมหลัก(Primary Activities) และกิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยกิจกรรมของผู้จัดซื้อควรยึดหลัก 5 R’s พิจารณาเลือกสินค้าให้ได้คุณสมบัติที่ถูกต้อง Right Quality เลือกซื้อจากแหล่งที่ถูกต้อง Right Source ในราคาที่ถูกต้อง Right Price และตรงต่อความต้องการของลูกค้า Right What  โดยสามารถนำออกขายแล้วมีกำไร (ธัญพร วันหลัง 2550)

ความหมายการจัดซื้อขององค์การ
กระบวนการตัดสินใจขององค์การโดยการกำหนดความต้องการของสินค้าและบริการที่ต้องการซื้อและระบุประเมินเลือกตรายี่ห้อและผู้ขายรายต่างๆการซื้อขององค์การมีข้อที่ควรพิจารณาคือ(1) องค์การไม่ได้ซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคหรืออรรถประโยชน์ส่วนบุคคลแต่ต้องการสินค้าและบริการเพื่อใช้ในการผลิตการขายต่อหรือการให้บริการต่อไป(2)บุคคลหลายคนเกี่ยวข้องกับการซื้อขององค์การ โดยเฉพาะรายการสินค้าที่สำคัญๆผู้ตัดสินใจโดยทั่วไปจะมีหน้าที่ความรับผิดชอบในองค์การและการตัดสินใจซื้อ(3) องค์การจะกำหนดนโยบาย เงื่อนไข และความต้องการเอาไว้ ซึ่งผู้ซื้อขายขององค์การจะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับสิ่งที่องค์การกำหนดเอาไว้และ(4)เงื่อนไขข้อเสนอและสัญญาซื้อขายจะต้องมีขึ้นในการซื้อขององค์การ (สาวแก้วตา ภูมิภาคิน 2552)

องค์ประกอบของการจัดซื้อ

1. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมคือแรงผลักดันเช่น คู่แข่ง และปัจจัยทางเศรษฐกิจแรงผลักดันทางการเมืองปัจจัยกฎหมายข้อบังคับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและปัจจัยสังคมวัฒนธรรมแรงผลักดันเหล่านี้สร้างความไม่แน่นอนอย่างมากให้แก่องค์การและความไม่แน่นอนสามารถทำให้บุคคลในศูนย์กลางการจัดซื้อเป็นกังวลเกี่ยวกับการซื้อบางประเภทการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยสิ่งแวดล้อมเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องอาจก่อให้เกิดโอกาสหรืออุปสรรคในการซื้อครั้งใหม่ตัวอย่างเช่นการเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีสามารถทำให้การตัดสินใจซื้อทำได้ยากสำหรับสินค้า เช่น คอมพิวเตอร์

2. ปัจจัยด้านองค์การมีอิทธิพลต่อกระบวนการซื้อขององค์การเกี่ยวกับวัตถุประสงค์นโยบายการจัดซื้อ ทรัพยากร รวมถึงขนาดและองค์ประกอบของศูนย์กลางการจัดซื้อ องค์การอาจมีนโยบายการซื้อที่สมาชิกในศูนย์กลางการจัดซื้อจะต้องปฏิบัติตามเช่น บริษัทอาจมีนโยบายบังคับให้ทำสัญญาระยะยาว ซึ่งอาจยาวนานกว่าที่ผู้ขายทั้งหลายต้องการทรัพยากรทางการเงินของบริษัทอาจทำให้ต้องสร้างเงื่อนไขสินเชื่อพิเศษ ซึ่งสถานการณ์เหล่านี้อาจมีผลกระทบต่อกระบวนการซื้อ

3. ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล คือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในศูนย์กลางการจัดซื้อ การใช้อำนาจและระดับของความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในศูนย์กลางการจัดซื้อมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อขององค์การ บุคคลบางคนในศูนย์กลางการจัดซื้ออาจเป็นนักสื่อสารที่ดีกว่าบุคคลอื่นจึงอาจชักจูงใจได้ดีกว่า บ่อยครั้งที่ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงและบุคคลจะเก็บไว้ภายในใจ ทำให้นักการตลาดสามารถประเมินหรือเข้าถึงได้ยาก

4. ปัจจัยส่วนบุคคล คือ ลักษณะของบุคคลในศูนย์กลางการจัดซื้อ เช่น อายุ การศึกษารายได้ บุคลิก และตำแหน่งในองค์การตัวอย่างเช่นผู้จัดการอายุ55ปี ซึ่งทำงานในองค์การมากกว่า 25 ปี อาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของศูนย์กลางการจัดซื้อแตกต่างไปจากพนักงานบริษัทอายุ 30 ปี ที่ทำงานมาประมาณ2ปีปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสถานการณ์การซื้อประเภทของสินค้าที่ซื้อ และขึ้นอยู่กับประเภทของก เจรจาต่อรองของบุคคลจะแตกต่างกันไปในแต่ละองค์การ ดังนั้น เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนักการตลาดต้องรู้จักลูกค้าดีพอที่จะรู้ถึงปัจจัยส่วนบุคคลเหล่านี้และผลกระทบที่อาจมีต่อกระบวนการซื้อ(สาวแก้วตา ภูมิภาคิน 2552)

กระบวนในการซื้อ

โดยศึกษาความต้องการหาแหล่งซื้อและคัดเลือกผู้ส่งมอบเจรจาต่อรองราคาและกำหนดเงื่อนไขให้ตรงกับความต้องการรวมไปถึงติดตามการจัดส่งสินค้าเพื่อให้ได้รับสินค้าตรงเวลาและติดตามการชำระเงินค่าสินค้าด้วยซึ่งแท้ที่จริงแล้วการจัดซื้อ(Purchasing)การจัดการพัสดุ (Supply Management) และการจัดหา(Procurement)นั้น ถูกนำมาใช้แทนกันในการจัดหาให้ได้มาซึ่งพัสดุและงานบริการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลภายในองค์กร 
ดังนั้นการจัดซื้อหรือการจัดการพัสดุไม่ใช่เป็นเพียงความเกี่ยวเนื่องในขั้นตอนมาตรฐานในกระบวนการจัดหาที่ประกอบด้วย
                            
                            (1) การรับรู้ความต้องการใช้สินค้า
                            (2) การแปรความต้องการใช้สินค้านั้นไปเป็นเงื่อนไขสำหรับการจัดหา
                            (3) การแสวงหาผู้ส่งมอบที่มีศักยภาพเพียงพอกับความต้องการ
                            (4) การเลือกแหล่งสินค้าที่เหมาะสม
                            (5) การจัดทำข้อตกลงตามใบสั่งซื้อหรือสัญญาซื้อขาย
                            (6) การส่งมอบสินค้าหรืองานบริการ
             (7) การชำระค่าสินค้าหรือบริการให้กับผู้ส่งมอบ 

ซึ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของการจัดซื้อยังอาจรวมไปถึงการรับมอบสินค้า(Receiving) การตรวจสอบสินค้า(Inspection)การจัดเก็บสินค้า(Storage)การขนย้ายสินค้า(Material Handling) การจัดตาราง(Scheduling) การจัดส่งทั้งขาเข้าและออก(Inbound and Outbound Traffic) และการทำลายทิ้ง (Disposal) แต่การจัดซื้อยังมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องในโซ่อุปทาน(Supply Chain) อีกด้วยเช่นการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับลูกค้าและลูกค้าของลูกค้ารวมไปถึงผู้ส่งมอบของผู้ส่งมอบซึ่งการขยายขอบเขตส่วนเกี่ยวข้องนี้รวมเรียกว่าการจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) โดยการจัดการโซ่อุปทานนี้จะมุ่งเน้นการลดต้นทุนและลดระยเวลาภายในโซ่อุปทานเพื่อให้ได้รับประโยชน์ไปถึงลูกค้าขั้นสุดท้ายของโซ่อุปทาน และด้วยแนวความคิดนี้เอง จึงทำให้การแข่งขันในระดับองค์กรถูกเปลี่ยนไปเป็นการแข่งขันในระดับโซ่อุปทานในอนาคต(Leenders,et al.2006)

ความสำคัญของการลดต้นทุนจากการจัดซื้อเป็นอีกกลยุทธ์ที่ผู้นำองค์กรต่างให้ความสำคัญ การปรับปรุงคุณภาพของโซ่อุปทาน การสรรหาแหล่งเทคโนโลยี และวิธีการเพื่อปรับปรุงระยะเวลาการทำงาน(Cycle Time)การให้ผู้ขาย(Supplier) เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตและการปรับปรุงกระบวนการให้กระชับขึ้น(Streamline Process)รวมไปถึงการให้ความสำคัญในการคัดสรรบุคลากรที่ทำหน้าที่จัดซื้อด้วย(Monczka,et al2002)

หลังจากนั้น ก็ได้มีการพัฒนาและได้วิเคราะห์สถานการณ์การซื้อสินค้าอุตสาหกรรมต่อจาก Sheth Model ที่ค้นพบไว้ในปี 1973โดย Mitchell ในปี 1998 ซึ่งพบว่าสถานการณ์ การซื้อสินค้าอุตสาหกรรม มี 3 แบบ ดังนี้

สถานการณ์ ที่ 1  การซื้อซ้ำแบบเดิม(Straight  Rebuy) เป็นสถานการณ์การซื้อที่ง่ายที่สุด เป็นวิธีการซื้อผลิตภัณฑ์เดิมด้วยวิธีเดิมโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยทั่วไปเป็นการซื้อประจําของฝ่ายจัดซื้อ

สถานการณ์ ที่ 2   การซื้อซ้ำแบบปรับปรุง (The Modified Rebuy) เป็นวิธีการซื้อซ้ําโดยพยายามค้นหาคุณสมบัติใหม ราคา เงื่อนไข หรือผู้ขายรายใหม่ ที่ดีกว่าเดิม ในสถานการณ์นี้ต้องมีผู้ร่วมตัดสินใจมากกว่ากรณีแรก ผู้ขายเดิมจะกังวลและหาวิธีป้องกันยอดขายของตนให้ดีที่สุด ผู้ขายใหมจะต้องเสนอโอกาสต่าง ๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่าบริษัทเดิมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากการขายให้ได้

สถานการณ์ ที่ 3 งานใหม่ (New Task)เป็นสถานการณ์ในการซื้อผลิตภัณฑ์ใหมสําหรับงานใหม่ของบริษัท บริษัทจะเผชิญกับต้นทุนหรือความเสี่ยงที่มากขึ้น จึงต้องมีจํานวนผูกมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมากขึ้น และค้นหาข้อมูลสําหรับสถานการณ์ใหม่ เป็นโอกาสที่ํสำคัญสําหรับนักการตลาดต้องวางแผนเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่จะมีอิทธิพลต่อการซื้อการจัดหาข้อมูลและช่วยเหลือบริษัทแก้ปัญหาต่าง ๆ การใช้พนักงานที่มีความสามารถและชํานาญเพื่อเอาชนะคู่แข่งขันในสถานการณ์นี้ให้ได้(Mitchell1998) 

การประยุกต์ใช้


การศึกษาพฤติกรรมการซื้อระดับองค์กรนี้หากเราเข้าใจในตัวธุรกิจนโยบายขององค์กร ที่แท้จริงถึงการส่งมอบสินค้าหรือบริการตามที่องค์กรได้ให้คำมั่นสัญญาไว้กับลูกค้า และเข้าใจในระบบการวางแผนการใช้เงินอย่างคุ้มค่าและในเวลาที่ถูกต้อง และสามารถควบคุมและดำเนินการให้เป็นไปตามระบบและเข้าใจในองค์ประกอบและปัจจัย จนนำไปสู่ การมีต้นทุนที่ต่ำลงแต่มีคุณภาพของสิ่งที่จัดซื้อและเหมาะสม และผลที่ได้รับคือ ยังคงสามารถส่งต่อ สินค้าและบริการไปยัง คู่ค้า หรือลูกค้าและนำไปสู่ความพึงพอใจและยอดขาย แบบ เต็มประสิทธิภาพ  การ วางแผนโดย ยึดแนวคิดพฤติกรรมการซื้อระดับองค์กร Organization Buyer Behavior  โดยมีการประยุกต์เข้ากับแนวคิด ประสิทธิภาพ และยึดเป็นหลักในการกำหนดพฤติกรรมการจัดซื้อองค์กร ในการดำเนินการของ บริษัท/ องค์กร ด้วยการให้ ความสำคัญของการลดต้นทุนจากการจัดซื้อ  การปรับปรุงคุณภาพของโซ่อุปทาน การสรรหาแหล่งเทคโนโลยี และวิธีการเพื่อปรับปรุงระยะเวลาการทำงาน (Cycle Time) การให้ผู้ขาย (Supplier) เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต และการปรับปรุงกระบวนการให้กระชับขึ้น (Streamline Process) รวมไปถึงการให้ความสำคัญในการคัดสรรบุคลากรที่ทำหน้าที่จัดซื้อด้วย ก็จะเป็นกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจให้ไม่เข้าไปสู่ความผิดพลาดได้อย่างแม่นยำและจะส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพ ให้กับแนวคิดการดำเนินการด้านกลยุทธ์อีกด้วย

ที่มา: http://www.jagsheth.com/buyer-behavior/behavioral-approaches-to-industrial-marketing-                  extant-and-emerging-research/
      http://www.udru.ac.th/website/attachments/elearning/07/11.pdf
      http://www.acrwebsite.org/search/view-conference-proceedings.aspx?Id=9608
       http://www.umsl.edu/~chewl/ppt3/BA%20303%20C3.ppt
      http://www.umsl.edu/~chewl/ppt3/BA%20303%20C3
        
สืบค้น : วันที่ 26 ตุลาคม 2557
               
ร้านเสริมสวยในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่่. ปริญญาโท.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น